ประวัติความเป็นมา

            เทศบาลตำบลพิชัยเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลพิชัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ตอนที่ 129 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535 และมีฐานะการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานประจำของสุขาภิบาลได้ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศทั่วไปตอน 114 พิเศษ 45 ง. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลพิชัยตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 (ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ) โดยอยู่ในแนวเขตเดิมของสุขาภิบาล และตามประกาศกระรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลเมืองพิชัย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่  13 มิถุนายน  2556 
ข้อมูลพื้นฐาน

เทศบาลเมืองพิชัยมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 999 บ้านต้นมื่น หมู่ที่ 14 ถนนลำปาง-งาว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
เทศบาลเมืองพิชัย มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 16.5 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลำปางอยู่ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ 8 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ อยู่ห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน ประมาณ 614 กิโลเมตร

อาณาเขต
เทศบาลเมืองพิชัยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านเสด็จ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ห้วยแม่กะติ๊บ ตำบลพิชัย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.พิชัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.ต้นธงชัย

เขตการปกครอง

เทศบาลเมืองพิชัยมีเขตการปกครอง 1 ตำบล คือ ตำบลพิชัย มีหมู่บ้าน / ชุมชนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิชัย จำนวน 11 หมู่บ้าน หมู่บ้าน / ชุมชน ที่มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิชัยเต็มพื้นที่ จำนวน 6 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านม่อนเขาแก้ว , บ้านทุ่งกู่
หมู่ที่ 4 บ้านต้นยาง
หมู่ที่ 9 บ้านฝายน้อย
หมู่ที่ 12 บ้านท่าเดื่อ
หมู่ที่ 14 บ้านต้นมื่น
หมู่ที่ 15 บ้านสันติสุข แยกจาก หมู่ที่ 2 สามัคคี

หมู่บ้าน / ชุมชน ที่มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพิชัยบางส่วนจำนวน 5 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านพิชัย
หมู่ที่ 2 บ้านสามัคคี
หมู่ที่ 5 บ้านต้นต้อง
หมู่ที่ 8 บ้านทรายใต้
หมู่ที่ 13 บ้านใหม่-บ้านเด่น

ประชากร

ในเขตเทศบาลเมืองพิชัยมีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 13,176 คน เป็นชาย 6,203 คน หญิง 6,973 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 4,931 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่โดยเฉลี่ย 732 คน / 1 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชาชน และหลังคาเรือน แต่ละหมู่บ้าน มีดังนี้

หมู่ที่ หมู่บ้าน / ชุมชน ชาย (คน) หญิง (คน) รวมประชากร (คน)
0 ทะเบียนบ้านกลาง

24 

12 

36

1 บ้านพิชัย

1,073

1,267

2,340

2 บ้านสามัคคี

465

475

940

3 บ้านม่อนเขาแก้ว / บ้านทุ่งกู่

553

596 

1,149

4 บ้านต้นยาง

405

460

865

5 บ้านต้นต้อง

382

435

817

8 บ้านทรายใต้

421

503

924

9 บ้านฝายน้อย

414

455

869

12 บ้านท่าเดื่อ

415

465

880

13 บ้านใหม่ บ้านเด่น

469

506

975

14 บ้านต้นมื่น

775

872

1647

15 บ้านสันติสุข

807

927

1,734

 

รวม

6,203

6,973

13,176

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือน เมษายน 2563


การไฟฟ้า

ได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิชัย หมู่ที่ 4 บ้านต้นยาง จึงทำให้ได้รับการบริการไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชน

การประปา

ได้รับการบริการน้ำประปา จากการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปาง ในหมู่ที่ 1 หมู่ 15 หมู่ 2 บางส่วน และมีการจัดทำประปาหมู่บ้าน มีบ่อน้ำตื้น และน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภค บริโภค

การคมนาคมและการสื่อสาร

พื้นที่ของเทศบาลเมืองพิชัย รับการบริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมจากในเมืองและได้รับการบริการโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน/ชุมชน

การใช้ที่ดิน
ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตรกรรม แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นการจัดสรรที่ดินเป็นบ้านจัดสรรและอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยมีบ้านพิชัย บ้านสามัคคี และบ้านสันติสุขบางส่วนอยู่ในเขตผังเมืองรวม

ด้านเศรษฐกิจ

  • โครงสร้างเศรษฐกิจ รายได้ประชากร
            ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นทำนาทำไร่ทำสวน ปลูกพืชเศรษฐกิจและเลี้ยงสัตว์รับจ้างรวมถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งเป็นอาชีพเสริม คือ การทำภาชนะเครื่องปั้น-ดินเผาในหมู่ที่ 3 และการทำเครื่องจักรสานเครือเถาวัลย์ในหมู่ที่ 8
  • การเกษตรกรรม
    ประชาชนในพื้นที่มักจะมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อส่งขายหรือจำหน่ายในตลาดในท้องถิ่นและสู่ตลาดในเขตเมือง

 

  • อุตสาหกรรม / การบริการ
    -ในพื้นที่เทศบาลเมืองพิชัยมีโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง
    -โรงงานขนาดกลางและเล็ก 16 แห่ง

 

  • การพาณิชย์กรรม / การบริการ
    -ในเขตเทศบาลเมืองพิชัย มีตลาดสดเอกชน 3 แห่ง คือ ตลาดบ้านพิชัย 1 แห่ง ,ตลาดบ้านต้นยาง 1 แห่ง
    และตลาดบ้านฝายน้อย 1 แห่ง
    -มีร้านค้าต่างๆ 86 แห่ง 
    -มีเกสท์เฮ้าท์ 2 แห่ง 
    -มีร้านอาหาร 10 แห่ง 
    -มีปั้มน้ำมัน 4 แห่ง 

  • ด้านสังคม

ชุมชน
          ประชากรทั้งสิ้น 13,176 คน เป็นชาย 6,203 คน หญิง 6,973 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 4,931 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่โดยเฉลี่ย 732 คน / 1 ตารางกิโลเมตร

ศาสนา
           ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิชัยนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และนับถือศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ซิกซ์ เป็นบางส่วน

          - วัดพุทธในเขตเทศบาลเมืองพิชัยจำนวน 9 แห่ง

          - ฌาปนสถาน จำนวน 10 แห่ง

ประเพณีศิลปวัฒนธรรม
เทศบาลเมืองพิชัย มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง สืบทอดกันมายาวนานมีภาษาท้องถิ่นแบบชาวไทยล้านนา ประเพณีที่สำคัญมีดังนี้

  • ประเพณีสงกรานต์ มีขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายนของทุกปี
  • การกินข้าวสลาก
  • ลอยกระทง
  • การถวายเทียนพรรษา
  • ประเพณีการบวชเณร
  • ประเพณีแต่งงาน
  • การทอดกฐินผ้าป่า
  • การแห่ลูกแก้ว
  • การสรงน้ำพระธาตุ

การศึกษา

มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
เมืองพิชัย ดังนี้
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง (สังกัด สำนักงาน สพฐ.)
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- สนามกีฬาท้องถิ่น 2 แห่ง
- สวนสาธารณะ 3 แห่ง

การสาธารณสุข
- มีสถานีอนามัยจำนวน 1 แห่ง ได้แก่สถานีอนามัยบ้านต้นมื่นและมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 320 คน
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองพิชัย จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งภาคเหนือ เขต 10 บ้านท่าเดื่อ หมู่ 12 จำนวน 1 แห่ง
- อัตราส่วนประชากรต่อแพทย์ 1: 19,000 คน
- อัตราส่วนประชากรต่อพยาบาล 1: 9,500 คน
- อัตราส่วนประชากรต่อ จนท.สาธารณสุข 1: 3,166 คน

ขยะ
- มีวิธีการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย โดยจัดเก็บเอง
- ในเขตเทศบาลตำบลพิชัยมีปริมาณขยะ 8 ตัน / วัน
- มีรถเก็บขยะจำนวน 2 คัน
- การกำจัดขยะโดยฝังกลบ สถานที่สำหรับกำจัดขยะ บ้านจำบอน ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ จำนวน 30 ไร่ เทศบาลตำบลพิชัยสามารถเก็บขนขยะและนำไปกำจัดได้ทั้งหมดจึง
ไม่เหลือขยะตกค้างและไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
- เก็บค่าธรรมเนียม กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล หลังคาเรือนละ 20 บาท/เดือน
- ร้านค้า/โรงงานอุตสาหกรรม 20 บาท/เดือน โดยคิดเพิ่ม ตามปริมาณทุกๆ 20 ลิตร คิดเพิ่ม 20 บาท

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เทศบาลเมืองพิชัยมีหน่วยงานป้องและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล ในการทำหน้าที่ป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1. รถดับเพลิง จำนวน 2 คัน
            คันที่ 1 จุน้ำได้ 2,500 ลิตร
            คันที่ 2 จุน้ำได้ 4,000 ลิตร
2. รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน
            คันที่ 1 จุน้ำได้ 10,000 ลิตร
3. รถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน (มีเครื่องหาบหามประจำรถ 1 ชุด)
4. พนักงานดับเพลิง จำนวน 11 คน
5. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 279 คน
6.อ่างเก็บน้ำจำนวน 3 อ่าง

แหล่งน้ำ
          เทศบาลเมืองพิชัยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญต่อการเกษตรกรรม และการชลประทาน ไหลผ่านพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ได้แก่ แม่น้ำวัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

QR-Code dieser Seite

ลิ้งหน่วยงานอื่นๆ


   

 

Facebook ของสำนักงาน


Copyright © 2021. All Rights Reserved.